ญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรอะไรในใบกระท่อม

สิทธิบัตรกระท่อมที่กลุ่มนักวิจัยญี่ปุ่นได้รับจากการศึกษาวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยไทย คือ “สิทธิบัตรอนุพันธ์ของสารสกัด Mitragynine จากใบกระท่อม กระบวนการผลิต ยา และการนำไปใช้รักษาโรคในคนและสัตว์” 

  1. สิทธิบัตรดังกล่าวจะไม่กระทบกับการปลูก การนำใบกระท่อมมาใช้ในรูปแบบใบสด หรือการแปรรูปเบื้องต้น (ตากแห้ง บด ป่น ต้ม เป็นต้น)
  2. แต่มีจะมีผลกระทบกับ
    1. การวิจัยเพื่อต่อยอดการใช้สาร Mitragynine มาใช้ประโยชน์ทางยาในรูปแบบต่างๆที่มหาวิทยาลัยชิบะและมหาวิทยาลัยโจไซได้จดสิทธิบัตรไว้ ทั้งตัวสารและกระบวนการผลิตสารกลุ่มดังกล่าว
    2. การแปรสภาพใบกระท่อมไปใช้ประโยชน์ซึ่งอาจมีกลุ่มอนุพันธ์ของ Mitragynine ที่ญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรไว้
  3. ผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นกับเรา หากญี่ปุ่นมิได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าวให้มีผลต่อประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกผ่าน PCT
  4. แม้สิทธิบัตรนี้ไม่ได้เป็นการจดสิทธิบัตร Mitragynine หรือ  7-hydroxymitragynine โดยตรงแต่เป็นการใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยแล้วนำไปต่อยอด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางที่กฎหมายระหว่างประเทศ “อุนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” ได้กำหนดไว้ ได้แก่
    • การขออนุญาตเข้าถึง (Prior Informed Consent)
    • ความตกลงร่วมกัน (Mutually Agreed Terms)
    • การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (Access and Benefit Sharing) เป็นต้น

การดำเนินการของกลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่นในกรณี้นี้จึงเข้าข่ายการกระทำที่เรียกว่า “โจรสลัดชีวภาพ” ที่ละเมิดความตกลงระหว่างประเทศและจริยธรรมการวิจัยระหว่างประเทศ

https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873/1176447135727139/

ที่มา: BIOTHAI Facebook

2016_patent_on_krathom

เอกสารแนบ