วันศุกร์ที่ 15 – เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553
ณ อาคารพิทยพัฒน์ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จัดโดย
รูปแบบและรายละเอียดกิจกรรม
เนื้อหาหลักของการจัดงานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2553 คือ ‘ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพรายละเอียดการจัดงาน แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.การปาฐกถานำ เพื่อนำประเด็น
- มุ่งสื่อสารแนวคิด หลักการ และความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารบนฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นที่อนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน ภายใต้วิกฤตการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันเนื่องมาจากกระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์
2.เวทีอภิปรายเรื่องความมั่นคงทางอาหารระดับนโยบาย
- ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ พ.ร.บ.อาหารแห่งชาติ ที่จะสร้างเสริมหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบัน และสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ในอนาคต
3.เวทีเสวนานำเสนอบทเรียนองค์ความรู้จากปฏิบัติการพื้นที่ ใน 4 ประเด็นสำคัญ
- บทเรียน ประสบการณ์ และการต่อสู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ รักษาฐานทรัพยากรอาหาร ที่มีนัยสำคัญต่อชุมชน ระบบนิเวศ และประเทศชาติ
- บทเรียน ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าว รวมถึงข้อเสนอต่อแนวทางการจัดการ และระบบสิทธิในพันธุกรรม ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
- ประสบการณ์การฟื้นฟูวัฒนธรรมอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น และปฏิบัติการของคนชั้นกลางในเมืองในการเลือกบริโภคอาหารที่ให้คุณค่ากับต้นธารของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นผู้ผลิตอาหารจนถึงปลายธารสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ตลอดจนการเลือกปฏิเสธอาหารจากสายพานการผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรทั้งกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
- ดัชนีความมั่นคงทางอาหารและสถานภาพการพึ่งพิงตนเองด้านอาหารระดับชุมชนที่มีนัยสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศชาติ
4.การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) มี 3 เวที ได้แก่เวทีที่ 1: การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11เวทีที่ 2: การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านพันธุกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเกษตรกร นักปรับปรุงพันธุ์ นักพันธุศาสตร์ นักกฎหมาย และนักการตลาด เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้สามารถวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในชุมชน และบริการแก่ชุมชนอื่นๆ เพื่อป้องกันและขจัดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์โดยบรรษัทขนาดใหญ่ในประเทศ และบรรษัทข้ามชาติเวทีที่ 3: การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดและการสื่อสารสาธารณะเพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของอาหารท้องถิ่นของชุมชนต่างๆ ที่เชื่อมโยงโดยตรงกับผู้บริโภค
กำหนดการสมัชชาความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2553
ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ
วันศุกร์ที่ 15 – เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553
ณ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วันที่ / เวลา | กิจกรรม |
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2553 | |
08.30 – 09.00 น. 09.00 – 09.10 น. 09.10 – 09.40 น. | ลงทะเบียนกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปาฐกถานำเรื่อง สิทธิชุมชน ความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหารภายใต้กระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์โดย ศ.เสน่ห์ จามริก อดีตประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ |
09.40 – 10.00 น. | พัก/ อาหารว่าง |
10.00 – 12.00 น. | เวทีเสวนาเรื่อง ประสบการณ์และความรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรโดย พิเชษฐ์ ปานดำ ตัวแทนชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน จ.ภูเก็ต สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ อภิรมย์ ธยาธรรม เครือข่ายอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (วังปลา) จ.อุบลราชธานีอภิปรายให้ความเห็น โดย ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการอิสระดำเนินการเสวนา โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี |
12.00 – 13.00 น. | พัก/ อาหารกลางวัน |
13.00 – 15.00 น. | เวทีเสวนาเรื่อง การอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรม โดย พ่อแดง หาทวี เกษตรกรบ้านสุขสมบูรณ์ จ.อุบลราชธานี ดาวเรือง พืชผล เกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก อ.กุดชุม จ.ยโสธร นพดล มั่นศักดิ์ มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์อภิปรายให้ความเห็น โดย ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญดำเนินการเสวนา โดย รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
15.00 – 15.30 น. | พัก/ อาหารว่าง |
15.30 – 17.30 น. | เวทีเสวนาเรื่อง วัฒนธรรมอาหารท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์โดย ศุภดา ทองธรรมชาติ ร้านอาหารครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา จรงค์ศักดิ์ รองเดช ผู้ดำเนินรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง แก้วตา ธัมอิน ผู้ประสานงานโครงการกินเปลี่ยนโลกอภิปรายให้ความเห็น โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการเสวนา โดย ธนาทิพ ฉัตรภูติ ผู้ดำเนินรายการผู้หญิง 3 มุม FM96.5 |
17.30 – 19.00 น. | พัก/ อาหารเย็น |
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 | |
09.00 – 10.00 น. | เวทีอภิปรายเรื่อง ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ พ.ร.บ.อาหารแห่งชาติโดย ลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินรายการอภิปราย โดย ดร.กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ |
10.00 – 10.15 น. | พัก/ อาหารว่าง |
10.15 – 12.00 น. | เวทีเสวนาเรื่อง ดัชนีความมั่นคงทางอาหารและสถานภาพการพึ่งพิงตนเองด้านอาหารโดย สุเมธ ปานจำลอง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ศิวโรจน์ จิตนิยม ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ประวัติ ไชยกาล โครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน จ.อุบลราชธานีอภิปรายให้ความเห็น โดย อาจารย์พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการเสวนา โดย สุภา ใยเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) |
12.00 – 13.00 น. | พัก/ อาหารกลางวัน |
13.00 – 14.00 น. | การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)ห้องที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11นำเสวนา โดย ดร.กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระดำเนินกระบวนการ โดย สุภา ใยเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)ห้องที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านพันธุกรรมนำเสวนา โดย อรพิน วัฒเนสก์ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว สำเริง แซ่ตัน ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์* ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินกระบวนการ โดย อุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานห้องที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดเครือข่ายผู้ผลิตผู้บริโภคนำเสวนา โดย สุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ ผู้จัดการบริษัทเลมอนฟาร์ม สุรนุช ธงศิลา ผู้จัดการมูลนิธิปูนซีเมนต์ไทย วัลลภา แวน วิลเลี่ยนวาร์ด บริษัทสวนเงินมีมา จิรา บุญประสพ ฝ่ายสร้างสรรค์รายการ บริษัททีวีบูรพาดำเนินกระบวนการ โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี |
14.00 – 14.30 น. | นำเสนอข้อสรุปและข้อเสนอจากการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 3 เวทีหน่วยงานกำหนดและกำกับนโยบายให้ความเห็นต่อข้อเสนอของเครือข่าย |
14.30 – 15.00 น. | ประมวลสรุปเนื้อหาและข้อเสนอของเวทีสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหารโดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี/ ผู้จัดการแผนงานสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร |
*อยู่ระหว่างการประสาน
food15_16oct101food15_16oct102