ความหมายและความสำคัญของระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร
“ระบบนิเวศ” (Ecology) มีความหมายกว้างใหญ่กว่าภูมินิเวศ (Landscape) ซึ่งหมายถึง ภูมินิเวศหลายๆพื้นที่อยู่รวมกัน เรียกว่า “ระบบนิเวศ” โดยหลายๆ ระบบนิเวศก็จะรวมเป็นโลกของเรา ซึ่งในโลกของเรามีประมาณ 800 ภูมินิเวศน์ ในแต่ละภูมินิเวศน์ก็จะมีภูมิอากาศเหมือนกัน รวมถึงมีองค์ประกอบ อาทิ ป่า คลอง ต้นไม้ นา อีกทั้งมีแต่ละองค์ประกอบก็มีหน้าที่ (Function) ของมัน เช่น ภาคใต้มีฤดูฝน 8 เดือน ฤดูร้อน 4 เดือน ทั้งยังเป็นป่าดิบ ฉะนั้นก็ถือเป็น 1 ภูมินิเวศน์
ในขณะที่ คำว่า “ห่วงโซ่อาหาร” หมายถึง ลำดับขั้นของการบริโภคอาหาร เพราะสัตว์ทั้งหลายสัมพันธ์กันด้วยอาหาร การบริโภคอาหารก็คือการถ่ายทอดพลังงานจากอาหารที่สัตว์กินไปสู่ลำดับขั้นการกินที่สูงกว่า แหล่งที่มาของพลังงานในห่วงโซ่อาหาร คือ พืชสีเขียวอันเป็นฐานทรัพยากรที่นำพลังงานดวงอาทิตย์มาใช้ปรุงอาหารหรือสังเคราะห์แสง ซึ่งพืชใช้พลังงานในการสร้างอาหารน้อยมากเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อสัตว์บริโภคอาหารพลังงานจากพืชก็ถูกถ่ายทอดไปยังสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ เป็นลูกโซ่ง่ายๆ
ห่วงโซ่อาหารและต้นทางอาหารที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศ
การทำความเข้าใจแม่น้ำลำธารที่มองจากความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเป็นเบื้องต้น ทำให้เห็น “ห่วงโซ่อาหาร” อันเป็นจุดเริ่มต้นของความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งมีชีวิตในลำน้ำที่สร้างความมั่นคงของชีวิตผู้คน การจัดการทรัพยากร ไม่จำกัดเพียงการจัดการเฉพาะรูปแบบทรัพยากรนั้นๆ เพียงอย่างเดียว เช่น การจัดการทางอาหาร เป็นหน่วยทางนิเวศวิทยา ที่มีขนาดใหญ่และเชื่อมโยงไปมากกว่าการจัดการทรัพยากรอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เรียกว่า “ภูมินิเวศทางอาหาร” ซึ่งเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงกับอาหารนิเวศวิทยาของแม่น้ำลำธาร (Steam Ecology) ทำให้เข้าใจบทบาทของแม่น้ำลำคลอง ในขณะเดียวกัน ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ช่วยให้เราเข้าใจแม่น้ำ อันเกิดจากระบบความสัมพันธ์ของผู้ผลิต ผู้บริโภค
2.1 นิเวศวิทยาแม่น้ำลำธาร
ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำลำธารเริ่มจาก “ต้นน้ำ” ขยายไปสู่ “ลำธารและลำแคว” ต้นทางอาหารอันเป็นจุดเริ่มต้นของกำเนิดห่วงโซ่อาหาร เชื่อมโยงเป็นสายสัมพันธ์เส้นยาวจนถึง “ปากแม่น้ำ” ที่ซึ่งสารอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุจะถูกน้ำพัดพามาจากด้านข้างซึ่งมีมากในช่วงน้ำไหลหลาก ที่ราบน้ำท่วมนี้มีความสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยามากที่สุด
(1) ต้นน้ำ เริ่มจากตาน้ำที่เกิดเป็นร่องน้ำเล็กๆ มักมีต้นไม้ ป่าไม้ปกคลุมเกิดร่มเงาบดบังแสงแดด แหล่งกำเนิดของพลังงานที่เริ่มต้นถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหาร ก็มาจากเศษใบไม้ กิ่งไม้ผุในน้ำ ในช่วงต้นน้ำนี้จะพบสัตว์จำพวกเก็บเศษพืช ซากพืชเหล่านี้กิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกใช้ปากกัดฉีกใบไม้กินและพวกกินเศษอินทรียวัตถุขนาดเล็กกว่าปากจะมีมาก ส่วนสัตว์ที่หากินสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำตามผิวก้อนหินหรือวัตถุในน้ำนั้นมีน้อยเพราะไม่ค่อยมีแสงแดดส่องถึงพื้นน้ำ พืชน้ำเหล่านี้เติบโตได้ยาก พวกหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่เก็บกินเศษซากพืชก็จะเป็นอาหารแก่สัตว์อื่นในลำดับต่อไป สัตว์กินสัตว์พบมีอยู่บ้างในตอนต้นน้ำ
(2) ลำธาร และลำแคว เป็นตอนที่สายธารกว้างใหญ่ขึ้น เริ่มมีแสงแดดส่องถึงพื้นน้ำมากขึ้น เราจะพบทั้งสาหร่าย ตะไคร่น้ำเป็นฟิล์มบางๆ ตามก้อนหิน และกิ่งไม้ที่จมอยู่ในน้ำ นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ และพืชอื่นขึ้นอยู่ตามฝั่งน้ำ พืชในน้ำและต้นไม้ริมฝั่งน้ำรวมทั้งซากและมูลแมลงกลายเป็นแหล่งของพลังงานหรือ “ต้นทางอาหาร” อันเป็นจุดเริ่มต้นของ “กำเนิดห่วงโซ่อาหาร” ในช่วงที่เป็นลำธารหรือแควนี้ ตะไคร่น้ำและสาหร่ายในน้ำกับใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นไม้ริมฝั่งจะสำคัญพอๆ กัน ต้นไม้ที่ล้มลงในน้ำ สัตว์น้ำได้ใช้เป็นที่หลบซ่อน สัตว์น้ำของลำธารช่วงนี้จึงมีทั้งพวกใช้ปากครูดหาสาหร่ายตามผิววัตถุในน้ำ และพวกกินเศษอินทรียวัตถุขนาดเล็กกว่าปาก
(3) แม่น้ำ หรือปากแม่น้ำ คือ ลำธารที่ใหญ่ขึ้น แสงแดดส่องลงสู่พื้นน้ำมาก มีสาหร่าย ตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนเติบโตได้ดี อินทรียวัตถุขนาดเล็กที่แขวนลอยมาจากต้นน้ำก็มีมากเช่นกันสัตว์น้ำส่วนใหญ่จึงเป็นพวกกินแพลงก์ตอนและกินอินทรียวัตถุขนาดเล็ก แม่น้ำขนาดใหญ่ในช่วงตอนนี้มักต่อกับพื้นที่ราบน้ำท่วม (Flood Plains) ดังนั้นสารอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุจะถูกน้ำพัดพามาจากด้านข้างซึ่งมีมากในช่วงน้ำไหลหลาก ที่ราบน้ำท่วมนี้มีความสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยามากที่สุด แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่คนมักมองข้ามความสำคัญของที่ราบน้ำท่วม
2.2 บริเวณพืชริมน้ำ (Riparian Zone)
Riparian areas หมายถึง บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลองที่มีต้นไม้ ไม้พุ่ม และพืชชอบน้ำขึ้นอยู่ มีบทบาทหน้าที่สำคัญมากดังนี้
- ช่วยลดพลังงานน้ำที่ไหลบ่าลง โดยกระจายพลังน้ำออกไป
- ช่วยยึดฝั่งน้ำ
- ลดการกัดชะ
- สามารถดักตะกอน
- สร้างดิน ขยายพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain)
- เก็บน้ำและ อุ้มน้ำไว้
- ช่วยเติมน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล ทำให้มีน้ำใต้ดิน (base flow) ไหลลงสู่ลำห้วย ลำธาร อย่างสม่ำเสมอ
- เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
สังคมพืชชายน้ำ หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำจึงเป็นแหล่งที่มาของแหล่งพืชพลังงานที่เข้ามา ดังนั้น หากไม่มีพืชริมฝั่งน้ำ แหล่งที่มาของอาหารจะอยู่ตรงไหน จึงต้องอย่าลืมบทบาทของสังคมพืชชายน้ำ
2.3 โครงสร้าง (Structure) และหน้าที่ (Function) ของแม่น้ำ
- ลำน้ำธรรมชาตินั้นคดเคี้ยว เกิดคุ้งน้ำ น้ำกัดเซาะฝั่งหนึ่งไปทับถมเกิดดินงอกอีกที่หนึ่ง ฝั่งน้ำที่พังช่วยนำธาตุอาหารสู่ลำน้ำ ฝั่งน้ำนั้นเป็นระบบที่เปราะบาง (sensitive) ที่สุด เป็นพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่พืชริมน้ำก็ฟื้นตัวได้เร็ว ฉะนั้นการจัดการจึงเน้นให้เกิดดุลยภาพให้คู่กับการเปลี่ยนแปลง (dynamic equilibrium)
- น้ำท่วมใหญ่อาจเกิดทุก 2 ปี 5 ปี 50 ปี หรือ 100 ปีครั้ง จนเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่ได้ พลังน้ำท่วมทำให้เกิดวังน้ำแหล่งใหม่
- ทุกแม่น้ำไม่ว่าจะมีน้ำหรือไม่ แม่น้ำจะออกสู่ทะเลเสมอ
- ความโค้งของแม่น้ำทำหน้าที่ลดความเร็วของการไหลของแม่น้ำ
- ฝั่งน้ำ เป็นระบบที่เปราะบาง เพราะการคดเคี้ยวของระบบแม่น้ำเพื่อการชะลอน้ำ
- ชีพจรน้ำ (Flood plus) เป็นการช่วยนำตะกอนดินออกไป เกิดเป็นพลวัตเกิดขึ้นตามจังหวะและเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลา ประเทศที่มีฝนตกมาก ต้นไม้จะเตี้ย เพราะต้นไม้ต้องการแดดสลับกับฝน เป็นการสร้างสรรค์โดย ธรรมชาติ ในป่าอะเมซอน
ความเข้าใจแม่น้ำลำคลอง (Oklahoma State University, April 2017) แม่น้ำลำคลองทำหน้าที่เชิงกลสำคัญ คือ
- นำน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
- เคลื่อนย้ายตะกอน (Sediment Transport)
แม่น้ำที่สมบูรณ์ คือ แม่น้ำมี่ตะกอนที่เข้ามาเท่ากับการไหลออก เป็นดุลยภาพ แต่แม่น้ำธรรมชาติ ยิ่งน้ำมีความเร็วมาก การกัดเซาะจะเยอะ
ปริมาณตะกอนที่ได้มาและไหลลงสู่ปลายน้ำ = ปริมาณที่สะสมอยู่ในแม่น้ำ
แม่น้ำไม่สมบูรณ์ ดุลยภาพ (Balance) นี้จะถูกทาลาย หรือเกิดการกัดเซาะดินจน เกิดตะกอนมากเกินไปในแม่น้ำลำธาร
2.4 พลังน้ำ
ในแม่น้ำมีพลังงานกล เพราะน้ำไหลเร็ว ยิ่งกัดเซาะรุนแรงขึ้น น้ำไหลแรงมีพลังตัดมาก เหมือนสายรดน้ำ ธรรมชาติของแม่น้ำก็มีวิธีบำบัดฟื้นฟูตัวเอง เพื่อต้านพลังกัดเซาะหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 เกิดจากต้นไม้ ไม้พุ่ม และหญ้าชายฝั่งน้าที่ชอบน้ำ พวกนี้ซ่อมตัวเองได้ โดยมีตัวตายตัวแทน
วิธีที่ 2 เปลี่ยนทิศทางการไหลให้คดโค้งมากขึ้น ทำให้ สายน้ำเดินทางยาวขึ้น ช่วยลดความชัน (Slope) ของแม่น้ำลง น้ำไหลช้าตามวิถีของน้ำ ถ้าใช้ Drone ถ่ายภาพ หลายชั่วอายุคนจะพบว่า แม่น้ำโค้งตวัดเหมือนงูเลื้อย แม่น้ำที่นำพาตะกอนมามากๆ จะเกิดสายน้ำมากกว่าหนึ่งสาย ถักทอกันเหมือนหางเปีย
วิธีที่ 3 น้ำท่วมก็เป็นวิธีลดการกัดเซาะอย่างหนึ่ง โดยน้ำกระจายล้นฝั่งบนที่ราบน้ำท่วมถึง ช่วยลดความเร็วน้ำนอกสายน้ำ เกิดตะกอนบนที่ราบน้ำท่วมถึง ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างถ้าไม่ไปสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณเหล่านี้ เราควรจะรู้บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plains) ในพื้นที่ ทำความเข้าใจกับแผนที่ก่อนซื้อที่ดิน หรือสร้างบ้าน ทำโครงสร้างต่างๆ ต้องเข้าใจธรรมชาติของแม่น้ำลำคลอง การพยายามไม่ให้เกิดการกัดชะจะนำปัญหาหลายอย่าง แม้จะมีวิธีแก้ทางด้านวิศวกรรม เช่น ทำผนังคอนกรีต กล่องหิน แต่ก็แพง คนธรรมดาทำไม่ได้ ดีที่สุดก็คือ เข้าใจ และยอมรับวิธีธรรมชาติที่ควบคุมการกัดเซาะดิน
ไม่ว่าแม่น้ำลำคลองจะไหลทั้งปีหรือไม่ ควรระวังเรื่องสิ่งต่างๆ ดังนี้
- อย่าตัดต้นไม้บนตลิ่งออกหมด เพราะเครือข่ายของรากพืชชายฝั่งน้ำ ช่วยยึดฝั่งน้ำ ลดพลังน้ำได้
- เรียนรู้เรื่องที่ราบน้ำท่วมถึง ไม่ควรสร้างบ้าน หรือโครงสร้างต่างๆ แม้ปล่อยที่ราบน้ำท่วมถึงไว้เฉยๆ มันก็ช่วยเพิ่มเติมน้ำให้ดิน ช่วยลดน้ำท่วม และลดการกัดเซาะที่ปลายน้ำ
- อย่าใช้เครื่องจักรกลหนักๆ ทำลายตลิ่งฝั่งแม่น้ำ เพราะดินอ่อนถล่มลงมาได้ง่าย
- อย่าพยายามตัดแม่น้ำลำคลองให้เป็นสายตรง หรือตัดโค้งน้ำ แม้จะมีความตั้งใจดีในหลายประเทศการทำเช่นนี้ต้องได้รับอนุญาตเท่านั้น
- อย่าลืมว่าปัญหาของคลอง หรือแม่น้ำ หากต้นน้ำถูกกัดเซาะมาก ตะกอนจะสะสมในท้องน้ำระหว่างก้อนหิน ไม่เป็นผลดีต่อสัตว์น้ำกุ้ง หอย แมลงน้ำ และปลาขนาดเล็กๆ การสร้างตึก สร้างถนน ลานจอดรถเมื่อขยายตัวเมือง ทำให้น้ำซึมลงดินได้ยาก น้ำจะไหลบ่า (Run off) มากขึ้น น้ำในคลองไหลมากขึ้น ทำให้คลองถูกกัดเซาะลึก และกว้างขึ้น
- แม่น้ำลำคลองปรกติมีความสามารถในตัวเองที่จัดการกับการกัดเซาะของน้ำ หากมันจัดการตัวเองไม่ได้ก็จะเป็นอันตรายมหาศาล พอถึงเวลานี้ก็สายเกินไป
- ป่าชายน้ำมันซ่อมตัวเองได้ (Self-Repairing) ช่วยจัดการกับน้ำท่วมที่ทำลายฝั่งน้ำได้
- ริมฝั่งสายธารน้ำไหล ย่อมเป็นที่สงบสุขสันติ รื่นรมย์ เด็กๆชอบชวนกันมาอาบน้ำ หาลูกปลา ลูกกุ้ง สนุกสนาน
- การขุดลอกคูคลอง การทำแม่น้ำให้ตรง ทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีแดง ไหลเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มความลาดชันให้แม่น้ำ
- แม่น้ำที่ไหลเร็ว ยิ่งก่อให้เกิดการพังทลาย น้ำท่วมตามธรรมชาติเป็นการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น (Flood way เป็นพื้นที่ช่วยลดการกัดเซาะ) ฤดูน้ำหลาก ปลาได้กินมะเดื่อ
- Watershed เปรียบเสมือนหลังคาสังกะสี
- Water Catchment ที่จับน้ำ หวายที่มีรากตื้น รากฝอยที่คอยดักตะกอน สร้างดินสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดการเก็บกักน้ำในดิน ภูเขาบางแห่งจึงไม่สามารถเก็บน้ำได้ เช่น ที่คลุ้ม เป็นที่เก็บน้ำ (water catchment) ป่าจังหวัดสตูล (คุ้มที่ต่ำ บางที่ลุ่ม) แม่น้ำบางตอนไหลแรงเป็นคลื่นช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ บางตอนไหลช้า บางช่วงลึกตื้นสลับกัน ลำน้ำธรรมชาตินั้นคดเคี้ยวเกิดเป็นคุ้งน้ำ น้ำกัดเซาะฝั่งหนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่งริมฝั่งแม่น้ำเป็นบริเวณเปราะบางที่สุดเป็นระบบที่พลวัตรคือ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอความจริงดินที่ถูกชะล้างพังทลายลงสู่ลำน้ำก็นำธาตุอาหารพืชและสัตว์ในดินทั้งหลายลงสู่ระบบนิเวศของลำน้ำเกิดเป็นกระบวนการสำคัญทางนิเวศวิทยา
2.5 วัฏจักรน้ำท่วม
วัฏจักรน้ำท่วม(Flood pulse) น้ำท่วมมีคุณประโยชน์หลายประการ
- เกิดถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำใหม่ๆ ขึ้น เช่น สันทรายใต้น้ำ และวังน้ำ
- นาท่อนไม้ ต้นไม้จมในน้ำ เกิดเป็นที่ปลาหลบซ่อนอาศัย
- เกิดการแลกเปลี่ยนธาตุอาหาร ระหว่างระบบนิเวศบนบก กับ ลำน้ำ เช่น ปลามีโอกาสกินผลไม้บนต้นไม้ มากินดินเค็มหรือดินเอียด ธาตุอาหารในน้ำถูกนกทุ่งนำออกไป
- น้ำท่วมช่วยพัดพาอนุภาคดินแป้ง (silt) และโคลนออกไปจากพื้นทราย ปลาชอบวางไข่บนพื้นทราย หากอนุภาคดินแป้ง ดินโคลนมีมากๆ ไข่ปลาจะเน่าเพราะขาดออกซิเจน พืช และสัตว์หลายชนิดได้วิวัฒนาการปรับวงจรชีวิตเข้ากับวงจรน้ำท่วม หลังน้ำท่วมพบว่ามีกบเพิ่มขึ้น
เรื่องวัฏจักรการท่วมของน้ำนี้ ทำให้เกิดแนวความคิดเปรียบเทียบว่าเป็นเสมือนชีพจรของแม่น้ำ ตราบใดที่มีชีพจรนี้ยังเต้นอยู่ แม่น้ำมีชีวิตชีวาได้ หากจะฆ่าแม่น้ำก็ทำได้โดยไม่ให้เกิดน้ำท่วม น้ำท่วมนั้นมีหน้าที่และคุณูปการต่อชีวิตของแม่น้ำ เช่น เกิดถิ่นที่อยู่ (Habitat) ของสัตว์น้ำ เพราะน้ำท่วมทำให้เกิดวังน้ำ (Pools) และสันทรายใต้น้ำ (Riffles) ที่ช่วยทำให้เกิดคลื่นได้ อันเป็นที่อยู่อาศัยของปลาต่าง ๆ แม่น้ำพัดพานำท่อนไม้ ต้นไม้มาจมในน้ำเหมือนกับที่ชาวบ้านนำกิ่งไม้มาสุมในวังให้ปลาอาศัยที่เรียกว่า “ทำเยาะ” น้ำท่วมยังช่วยพัดพาดินโคลน และดินแป้ง (Silt) ออกไปจากพื้นทราย ปลาและกบภูเขาชอบวางไข่บนพื้นทราย หากมีอนุภาคดินโคลนหรือดินแป้งมากเกินไปไข่ปลาจะขาดออกซิเจนจนตาย พืชและสัตว์น้ำหลายชนิดได้วิวัฒนาการปรับวงจรชีวิตให้เข้ากับวัฎจักรน้ำท่วม เช่น น้ำท่วมในแม่น้ำขนาดใหญ่ในชนบทที่ท่วมนาน 3-4 เดือนอยู่เป็นประจำ เป็นโอกาสที่ปลาได้หาอาหาร แม้กระทั่งกินผลไม้บนกิ่งไม้ หรือว่ายทวนน้ำขึ้นไปที่บริเวณดิน มีเกลือสินเธาว์ชาวบ้านเรียกว่า ปลาขึ้นไปกินดินเอียด
ในทะเลทรายเกิดน้ำท่วมใหญ่ฉับพลัน (Flash Flood) นำปลา และนกต่างๆ มา โดยไม่ทราบว่ามาจากที่ใด น้ำท่วมช่วยเติมเต็มให้กับชีวิตต่างๆระบบนิเวศของสังคมพืชริมแม่น้ำ หรือพื้นที่ราบน้ำท่วม (Flood Plain) และตัวพื้นที่ชุ่มน้ำทำหน้าที่ดุจเครื่องกรองมีชีวิต ช่วยดึงธาตุอาหารส่วนเกินออกไป ตัวอย่างเห็นได้จากป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี โครงการตามพระราชดำริ ที่ช่วยบำบัดน้ำเสีย โดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารระหว่างระบบนิเวศแม่น้ำกับป่าของพื้นที่ราบน้ำท่วม เราได้ทำลายระบบนิเวศธรรมชาติริมฝั่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและการขยายตัวเมืองออกไป ลำน้ำหลายแห่งถูกผันน้ำไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ทั้งโดยระบบท่อและคูคลองส่งน้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงสุด (Peak Flow) ของลำน้ำเดิมเปลี่ยนไป ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำถูกทำลาย
ปัจจุบันคนถูกทำให้เกลียดน้ำท่วม สังคมไทยถูกข่าวสารชักนำให้เห็นว่าน้ำท่วมเป็นภัยพิบัติ โครงการขุดลอกที่หวังเร่งระบายน้ำได้ทำลายระบบนิเวศริมน้ำ แม่น้ำกลายเป็นท่อส่งน้ำ การขุดลอกที่นำดินมากองไว้ตามริมฝั่ง พอฝนตกก็ถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำเกิดตะกอนดินมหาศาลในฤดูฝนที่ผ่านมา ลำน้ำลำธารเต็มไปด้วยตะกอนดินสีแดงทั่วลำน้ำการขุดลอกคูคลองได้ทำลายแหล่งที่อยู่ของพืชหายากที่ขึ้นตามท้องธารของแม่น้ำหลายแห่งและเชื่อว่ายังทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง
2.6 วิธีรักษาต้นน้ำลำธาร
การสร้างฝายแม้ว เป็นรูปตัว V ใช้การยกข้างให้ไหลลงตรงกลาง เกิดเป็นวัง กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ (ตะโหมด พัทลุง เป็นอันดับ 1 ในการจัดการรักษาน้ำ ผ่านเครือข่ายรักษาป่า ดิน น้ำ เทือกเขาบรรทัด)
สรุป
ระบบนิเวศป่าริมน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ช่วยแลกเปลี่ยนธาตุอาหารระหว่างระบบนิเวศน้ำกับระบบนิเวศบนบกนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การจัดการระบบนิเวศแม่น้ำที่สำคัญ มีดังนี้
- ถ้าต้องการจะฟื้นฟูความสามารถของระบบนิเวศแม่น้ำลำธาร เราก็ต้องฟื้นฟูให้ระบบแม่น้ำได้ทำหน้าที่ และอย่าลืมว่าระบบแม่น้ำนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ควรตรึงระบบแม่น้ำลำคลองให้หยุดนิ่ง เช่นเปลี่ยนฝั่งแม่น้ำเป็นผนังคอนกรีตหมด
- หยุดการทำลายถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิต ให้ความสำคัญกับป่าริมน้ำที่ช่วยเก็บน้ำ ดักสารเคมี และปุ๋ยส่วนเกิน (ทำหน้าที่ เป็น biofilter) รักษาวัฏจักรของน้ำท่วม (flood pulse)
- เปลี่ยนพฤติกรรมการปล่อยของเสีย การใช้ปุ๋ยมากเกินไป ควรปรับระดับการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะกับดิน
2019_article_foodplan03ความมั่นคงทางอาหาร คือ การเข้าถึงอาหารทั้งในทางกายภาพ เศรษฐกิจ และเชิงวัฒนธรรมอาหารการเข้าถึงอาหารทางกายภาพ จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากความเข้าใจนิเวศของอาหาร และรวมถึงการจัดการความมั่นคงทางอาหาร การจัดการเชิงนิเวศ การจัดการเชิงโครงสร้าง (นโยบาย โครงการพัฒนา) การจัดการเชิงเศรษฐกิจ และการจัดการเชิงอำนาจ