สมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2553

วันศุกร์ที่ 15 – เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553
ณ อาคารพิทยพัฒน์ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 จัดโดย

รูปแบบและรายละเอียดกิจกรรม

เนื้อหาหลักของการจัดงานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2553 คือ ‘ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพรายละเอียดการจัดงาน แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.การปาฐกถานำ เพื่อนำประเด็น

  • มุ่งสื่อสารแนวคิด หลักการ และความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารบนฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นที่อนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน ภายใต้วิกฤตการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันเนื่องมาจากกระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์

2.เวทีอภิปรายเรื่องความมั่นคงทางอาหารระดับนโยบาย

  • ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ พ.ร.บ.อาหารแห่งชาติ ที่จะสร้างเสริมหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบัน และสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ในอนาคต

 3.เวทีเสวนานำเสนอบทเรียนองค์ความรู้จากปฏิบัติการพื้นที่ ใน 4 ประเด็นสำคัญ

  • บทเรียน ประสบการณ์ และการต่อสู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ รักษาฐานทรัพยากรอาหาร ที่มีนัยสำคัญต่อชุมชน ระบบนิเวศ และประเทศชาติ
  • บทเรียน ประสบการณ์ และองค์ความรู้ของชุมชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าว รวมถึงข้อเสนอต่อแนวทางการจัดการ และระบบสิทธิในพันธุกรรม ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  • ประสบการณ์การฟื้นฟูวัฒนธรรมอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น และปฏิบัติการของคนชั้นกลางในเมืองในการเลือกบริโภคอาหารที่ให้คุณค่ากับต้นธารของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นผู้ผลิตอาหารจนถึงปลายธารสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ตลอดจนการเลือกปฏิเสธอาหารจากสายพานการผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรทั้งกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • ดัชนีความมั่นคงทางอาหารและสถานภาพการพึ่งพิงตนเองด้านอาหารระดับชุมชนที่มีนัยสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารระดับประเทศชาติ 

4.การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) มี 3 เวที ได้แก่เวทีที่ 1: การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11เวทีที่ 2: การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านพันธุกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเกษตรกร นักปรับปรุงพันธุ์ นักพันธุศาสตร์ นักกฎหมาย และนักการตลาด เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้สามารถวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในชุมชน และบริการแก่ชุมชนอื่นๆ เพื่อป้องกันและขจัดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์โดยบรรษัทขนาดใหญ่ในประเทศ และบรรษัทข้ามชาติเวทีที่ 3: การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดและการสื่อสารสาธารณะเพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของอาหารท้องถิ่นของชุมชนต่างๆ ที่เชื่อมโยงโดยตรงกับผู้บริโภค  

กำหนดการสมัชชาความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2553

ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

วันศุกร์ที่ 15 – เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553

ณ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วันที่ / เวลากิจกรรม
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2553
08.30 – 09.00 น.   09.00 – 09.10 น.  09.10 – 09.40 น. ลงทะเบียนกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์       อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปาฐกถานำเรื่อง สิทธิชุมชน ความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหารภายใต้กระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์โดย ศ.เสน่ห์ จามริก      
อดีตประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
09.40 – 10.00 น.พัก/ อาหารว่าง
10.00 – 12.00 น.เวทีเสวนาเรื่อง ประสบการณ์และความรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรโดย พิเชษฐ์ ปานดำ ตัวแทนชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน จ.ภูเก็ต      
สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์              
อภิรมย์ ธยาธรรม เครือข่ายอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (วังปลา) จ.อุบลราชธานีอภิปรายให้ความเห็น โดย ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการอิสระดำเนินการเสวนา โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี
12.00 – 13.00 น.พัก/ อาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น.เวทีเสวนาเรื่อง การอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาพันธุกรรม โดย พ่อแดง หาทวี เกษตรกรบ้านสุขสมบูรณ์ จ.อุบลราชธานี     
ดาวเรือง พืชผล เกษตรกรเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก อ.กุดชุม จ.ยโสธร     
นพดล มั่นศักดิ์ มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา                               
จ.นครสวรรค์อภิปรายให้ความเห็น โดย ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว                                     
เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญดำเนินการเสวนา โดย รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน                              
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์                               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
15.00 – 15.30 น.พัก/ อาหารว่าง
15.30 – 17.30 น.                                                              เวทีเสวนาเรื่อง วัฒนธรรมอาหารท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์โดย ศุภดา ทองธรรมชาติ ร้านอาหารครัวใบโหนด คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา                        
จรงค์ศักดิ์ รองเดช ผู้ดำเนินรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง     
แก้วตา ธัมอิน ผู้ประสานงานโครงการกินเปลี่ยนโลกอภิปรายให้ความเห็น โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์                                คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการเสวนา โดย ธนาทิพ ฉัตรภูติ ผู้ดำเนินรายการผู้หญิง 3 มุม FM96.5
17.30 – 19.00 น.พัก/ อาหารเย็น
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553
09.00 – 10.00 น.เวทีอภิปรายเรื่อง ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ พ.ร.บ.อาหารแห่งชาติโดย ลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ     รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินรายการอภิปราย โดย ดร.กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
10.00 – 10.15 น.พัก/ อาหารว่าง
10.15 – 12.00 น.เวทีเสวนาเรื่อง ดัชนีความมั่นคงทางอาหารและสถานภาพการพึ่งพิงตนเองด้านอาหารโดย สุเมธ ปานจำลอง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน       
ศิวโรจน์ จิตนิยม ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี      ประวัติ ไชยกาล โครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน จ.อุบลราชธานีอภิปรายให้ความเห็น โดย อาจารย์พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ                                       
ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์                                       
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการเสวนา โดย สุภา ใยเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
12.00 – 13.00 น.พัก/ อาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)ห้องที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11นำเสวนา โดย ดร.กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระดำเนินกระบวนการ โดย สุภา ใยเมือง                                   
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)ห้องที่ 2  การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านพันธุกรรมนำเสวนา โดย อรพิน วัฒเนสก์ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว                     
สำเริง แซ่ตัน ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง                     
รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์* ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร                     
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินกระบวนการ โดย อุบล อยู่หว้า                                      
ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานห้องที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดเครือข่ายผู้ผลิตผู้บริโภคนำเสวนา โดย สุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ ผู้จัดการบริษัทเลมอนฟาร์ม                    
สุรนุช ธงศิลา ผู้จัดการมูลนิธิปูนซีเมนต์ไทย                     
วัลลภา แวน วิลเลี่ยนวาร์ด บริษัทสวนเงินมีมา                 
จิรา บุญประสพ ฝ่ายสร้างสรรค์รายการ บริษัททีวีบูรพาดำเนินกระบวนการ โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา                                 
รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี
14.00 – 14.30 น. นำเสนอข้อสรุปและข้อเสนอจากการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 3 เวทีหน่วยงานกำหนดและกำกับนโยบายให้ความเห็นต่อข้อเสนอของเครือข่าย
14.30 – 15.00 น.  ประมวลสรุปเนื้อหาและข้อเสนอของเวทีสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหารโดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ      
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี/ ผู้จัดการแผนงานสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร

*อยู่ระหว่างการประสาน

food15_16oct101

food15_16oct102

เอกสารแนบ